logo

นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมโยธาคว้าทุนสนับสนุนการวิจัยโครงงาน Senior Project

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมโยธา ซึ่งคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย นายชลากร วิฑูรย์พิศาลศิลปะ นางสาวพฤษภา บางเหรียง และนางสาวตูแวกูมารีนี โต๊ะโซ๊ะ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผศ.ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ซึ่งนักศึกษาได้รับการพิจารณาจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัย Engineering Innovation Senior Project (EISP 2020) สำหรับโครงงาน เรื่อง พฤติกรรมคานเหล็กประกอบจากแผ่นเหล็กม้วนสาหรับพื้นชนิดบางในภาวะใช้งานและภาวะสุดขีด ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 จากบริษัท AO steel Co., Ltd. และได้ทุนศึกษาดูงานกระบวนการผลิต Cellular beam ณ โรงงานผลิต

จากการเข้าดูงานกระบวนการผลิต นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า Cellular beam เป็นนวัตกรรรมการก่อสร้างรูปแบบคานนวัตกรรมใหม่ โดยมีช่องเปิดที่มีลักษณะโค้ง รูปวงกลมเรียงเป็นระยะบนเหล็กชิ้นงาน โดยทั่วไปเสาและคานเมื่อทำ การตัดเป็นแนว แล้วแยกและทำการเชื่อมกันใหม่ก็จะทำให้คุณสมบัติของหน้าตัดเหล็กนั้น ๆ มักขึ้น โดยที่ยังคงน้ำหนักไม่ต่างจากเดิม ซึ่งเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับการก่อสร้างอาคารโครงเหล็กและโครงหลังคาเหล็ก เพราะปัจจุบันราคาค่าวัสดุเหล็กรูปพรรณมีราคาสูงขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป Cellular beam เป็นโครงสร้างเหล็กที่แข็งแรงและน้ำหนักเบา ประหยัด รูปแบบสวยงามทันสมัย สามารถออกแบบชิ้นงานได้หลายรูปทรง ด้วยขั้นตอนการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนในโรงงานทั้งหมด ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพชิ้นงานได้อย่างเรียบร้อยและแม่นยำ ก่อนที่จะขนส่งชิ้นส่วนพร้อมติดตั้งไปที่หน้างาน โดยใช้การติดตั้งด้วยระบบสลักเกลียว (Bolted Joint) ทำให้ลดเวลาการก่อสร้างได้อย่างมาก และยังสามารถถอดประกอบได้ใหม่ในกรณีที่จำเป็นต้องย้ายสถานที่ ปัจจุบัน โครงสร้าง Cellular beam เป็นที่นิยมใช้ในงานการก่อสร้างโรงงาน โกดังเก็บสินค้า โรงเก็บเครื่องบิน โครงหลังคาสนามกีฬา หลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ โชวร์รูมรถยนต์ หลังคาที่จอดรถ อาคารจอดรถ ตลาดสด และอีกหลายรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า

เรียบเรียง : ผศ.ดร. วริษฐ์ วิปุลานุสาสน์

Facebook Comments Box