logo

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering and Artificial Intelligence


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Computer Engineering and Artificial Intelligence)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อผลิตวิศวกรผู้สร้างนวัตกรรม มีความทันสมัย ใส่ใจงาน พื้นฐานดี และมีจรรยาบรรณ
1) มีความรู้ทางทฤษฎีและทักษะด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการสร้างระบบอัจฉริยะหรือนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการแนวทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งเทคนิควิธีการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
3) มีทักษะและความเข้าใจในการใช้ชีวิต รู้จักเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

บัณฑิตมีความสามารถในการ
1.ออกแบบระบบหรือองค์ประกอบของระบบหรือกระบวนการเพื่อให้บรรลุความต้องการและใช้งานได้จริง
2.สามารถออกแบบและดำเนินการทดลองเพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจข้อมูล
3.สามารถระบุปัญหาและแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมได้
4.สามารถสื่อสารได้ดี ทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


แนวทางประกอบอาชีพ

1) วิศวกรคอมพิวเตอร์
2) วิศวกรซอฟต์แวร์
3) วิศวกรปัญญาประดิษฐ์
4) นักวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล
5) นักวิชาการคอมพิวเตอร์
6) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
7) นักเขียน/พัฒนาโปรแกรม
8) นักพัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์และระบบสมองกลฝังตัว
9) ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
10) นักวิชาการ อาจารย์ และนักวิจัยด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
11) ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
12) ผู้ประกอบการใหม่ หรือ Startup


แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600 บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 180 หน่วยกิต

หมวดวิชาจำนวนหน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป40 หน่วยกิต
    1) กลุ่มวิชาภาษา20 หน่วยกิต
    2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์8 หน่วยกิต
    3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์8 หน่วยกิต
    4) กลุ่มวิชาบูรณาการ4 หน่วยกิต
    5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ4 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ132 หน่วยกิต
    1) กลุ่มวิชาแกนทางวิศวกรรม38 หน่วยกิต
    2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน65 หน่วยกิต
    3) กลุ่มวิชาเอกเลือก12 หน่วยกิต
    4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา17 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี8 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร180 หน่วยกิต

สถาบันที่อนุมัติ

สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


สถาบันที่ทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


รายละเอียดการรับรองคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอกหรือองค์กรวิชาชีพ

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม


วันที่เขียนหรือปรับปรุงข้อกำหนดของหลักสูตร

วันที่ 26 ธันวาคม 2563


รายละเอียดการรับรองคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอกหรือองค์กรวิชาชีพ

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

เกณฑ์การรับเข้าหรือความต้องการของหลักสูตร

เงื่อนไขในการรับสมัคร

          จำนวนรับ 70 คน
          1. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาตั้งแต่ 4 ภาคการศึกษาขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 2.50

  1. แผนการศึกษาที่เปิดรับ

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. จำนวนหน่วยกิตและคะแนนเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัครสำหรับนักเรียนสายสามัญ

                    – ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชา

  1. รายละอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

                    –  ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

                    – หลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม/ร่วมแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

                    – หลักฐานแสดงการเข้าร่วมหรือเป็นคณะทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

                    –  เรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่น้อยกว่า 200 คำในหัวข้อ “คุณคิดว่า AI ในอนาคตจะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างไร และคุณคิดว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างหลังคุณจบการศึกษาในหลักสูตร COE-AI”

                    – เอกสารผลงานอื่นๆที่ต้องการนำเสนอ (ถ้ามี)

จำนวนรับ 50 คน เปิดรับสมัคร 2 รูปแบบ

          รูปแบบที่ 1 ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  1. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาตั้งแต่ 5 ภาคการศึกษาขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 2.50
  2. แผนการศึกษาที่เปิดรับ

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. จำนวนหน่วยกิตและคะแนนเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัครสำหรับนักเรียนสายสามัญ

                    – ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชา

  1. รายละอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

                    –  ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

                    – หลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม/ร่วมแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

                    – หลักฐานแสดงการเข้าร่วมหรือเป็นคณะทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

                    –  เรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่น้อยกว่า 200 คำในหัวข้อ “คุณคิดว่า AI ในอนาคตจะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างไร และคุณคิดว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างหลังคุณจบการศึกษาในหลักสูตร COE-AI”

                    – เอกสารผลงานอื่นๆที่ต้องการนำเสนอ (ถ้ามี)

          รูปแบบที่ 2 ในเกณฑ์คะแนนสอบจากส่วนกลาง มีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  1. แผนการศึกษาที่เปิดรับ

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ในการยื่นสมัคร

                    2.1 ผลการสอบ GAT/PAT พิจารณาคะแนนดังนี้

                              – วิชา GAT: ความถนัดทั่วไป คิด 30 %

                              – วิชา PAT 1: ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คิด 50 %

                              – วิชา PAT 3: ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คิด 20 %

                    หรือ

                    2.2 ผลการสอบวิชาสามัญ พิจารณาคะแนนดังนี้

                              – วิชาภาษาไทย คิด 10 %

                              – วิชาคณิตศาสตร์ 1 คิด 50 %

                              – วิชาฟิสิกส์ คิด 20 %

                              – วิชาภาษาอังกฤษ คิด 20 %

จำนวนรับ 20 คน มีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  1. 1. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชา ไม่ต่ำกว่า 3.00
  2. แผนการศึกษาของผู้มีสิทธิ์สมัคร

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ในการยื่นสมัคร

                              3.1 PAT 1: ความถนัดทางคณิตศาสตร์ หรือ

                              –  วิชาสมัญ วิชาคณิตศาสตร์ 1 หรือ

                              –  วิชาสมัญ วิชาคณิตศาสตร์ 2 หรือ

                              โดยใช้คะแนนวิชาใดวิชาหนึ่งที่มีคะแนนสูงสุด คิดเป็น 60 %

                              3.2 GAT วิชาความถนัดทั่วไป คิด 20 %

                              3.3 PAT3 วัดความถนัดวิศวกรรมศาสตร์ คิดเป็น 20 %

                              รวมเป็น 100 %

จำนวนรับ 5 คน เปิดรับสมัคร 2 รูปแบบ

        รูปแบบที่ 1 ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  1. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.75
  2. แผนการศึกษาที่เปิดรับ

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. จำนวนหน่วยกิตและคะแนนเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัครสำหรับนักเรียนสายสามัญ

                    – ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชา

  1. รายละอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

                    –  ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

 

        รูปแบบที่ 2 ในเกณฑ์คะแนนสอบจากส่วนกลาง มีเงื่อนไขในการรับสมัครดังนี้

  1. แผนการศึกษาที่เปิดรับ

                    – สำหรับนักเรียนสายสามัญ แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

  1. รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ในการยื่นสมัคร

                    2.1 ผลการสอบ  O-NET พิจารณาคะแนนดังนี้

                              – วิชา 03: ภาษาอังกฤษ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชา 04: คณิตศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน         

                              – วิชา 05: วิทยาศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน                   

                    หรือ

                    2.2 ผลการสอบวิชาสามัญ พิจารณาคะแนนดังนี้

                              – วิชา GAT: ความถนัดทั่วไป เท่ากับหรือมากกว่า 60 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชา PAT1: ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชา PAT3: ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                    หรือ

                              – วิชาคณิตศาสตร์ 1 เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชาฟิสิกส์ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

                              – วิชาภาษาอังกฤษ เท่ากับหรือมากกว่า 50 คะแนน จาก 100 คะแนน

facebook : วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มวล.

หลักสูตรที่เปิดสอนเพิ่มเติม : Click

Facebook Comments Box