logo

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Mechanical and Robotic Engineering



ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Mechanical and Robotic Engineering)



ปรัชญา / วัตถุประสงค์

มุ่งผลิตวิศวกรผู้เชี่ยวชาญความรู้ คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม นำพาประเทศชาติอย่างมีจริยธรรม

ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ทางทฤษฎีและทักษะด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ให้ตรงตามความต้องการของประเทศ
  2. มีทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเองหรือการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
  3. มีทักษะและความสามารถในการออกแบบคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างมีตรรกเป็นขั้นเป็นตอนในงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์
  4. มีทักษะและความเข้าใจในการใช้ชีวิต มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในและต่างประเทศ มีการวางแผนการทำงาน มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
  5. มีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับปริญญาบัณฑิตทั้ง 5 ด้านที่กำหนดในกรอบมาตรฐานของ ส.ก.อ. ดังนี้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

บัณฑิตมีความรู้เกี่ยวกับหลักการและการออกแบบทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เช่น ระบบกลไกต่างๆ การวิเคราะห์ความร้อนและความเย็น ระบบควบคุมทางกล รวมถึงความสามารถด้านการออกแบบและการควบคุมหุ่นยนต์ ทั้งแบบหุ่นยนต์ที่ใช้อำนวยความสะดวกทั่วไปและหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรม สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงต่อยอดและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ได้



แนวทางประกอบอาชีพ

1) วิศวกรทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล

2) วิศวกรทางด้านหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ

2) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องกล

3) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ

5) อาจารย์และนักวิจัยทางด้านเครื่องกลและหุ่นยนต์



แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือสาขาใกล้เคียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงหลักสูตรมหาบัณฑิตด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600 บาท



โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวม 193 หน่วยกิต 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป40 หน่วยกิต
 (1) กลุ่มวิชาภาษา19 หน่วยกิต
 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์6 หน่วยกิต
 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์6 หน่วยกิต
 (4) กลุ่มวิชาสหศาสตร์ 9 หน่วยกิต
   
2. หมวดวิชาเฉพาะ145 หน่วยกิต  
 
(1) กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน
 66 หน่วยกิต
 
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
 62 หน่วยกิต
 
(3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา
 17 หน่วยกิต
 
3. หมวดวิชาเลือกเสรี8 หน่วยกิต

สถาบันที่อนุมัติ

สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


สถาบันที่ทำการสอน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


รายละเอียดการรับรองคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอกหรือองค์กรวิชาชีพ

1. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
2. สภาวิศวกร


การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและแหล่งอ้างอิงทั้งภายในและภายนอก เพื่อใช้ในการให้ข้อมูลด้านผลการเรียนรู้ของหลักสูตร

1. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
2. สภาวิศวกร


วันที่เขียนหรือปรับปรุงข้อกำหนดของหลักสูตร

สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 11 กรกฎาคม 2563

เกณฑ์การรับเข้าหรือความต้องการของหลักสูตร

เงื่อนไขการรับสมัครและรายละเอียดแฟ้มสะสมผลงานเพื่อใช้ในการยื่นสมัครของแต่ละหลักสูตร

1.1 หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ จำนวนรับ 50 คน

(1) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาตั้งแต่ 5 ภาคเรียนขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 2.50

(2) แผนการศึกษาที่เปิดรับ

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

(3) จำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัคร

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชา

(4) รายละเอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

– ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

– เขียนเรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ในหัวข้อ วิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ช่วยในการพัฒนาประเทศได้อย่างไร

(5) การสัมภาษณ์

– ไม่มี

เงื่อนไขการรับสมัครและรายละเอียดแฟ้มสะสมผลงานเพื่อใช้ในการยื่นสมัครของแต่ละหลักสูตร มีรายละเอียดดังนี้

1.1 หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ จำนวนรับ 30 คน

1.1.1 สมัครรูปแบบที่ 1 โดยใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มีเงื่อนไขการรับสมัครดังนี้

(1) คะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาตั้งแต่ 5 ภาคเรียนขึ้นไป 2.50

(2) แผนการศึกษาที่เปิดรับ

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

(3) จำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัคร

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/ภาษาต่างประเทศ

(4) รายละเอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

– ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

– เขียนเรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ในหัวข้อ วิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ช่วยในการพัฒนาประเทศได้อย่างไร

– เอกสารผลงานอื่นๆ (ถ้ามี)

3.1.2 สมัครรูปแบบที่ 2 โดยใช้เกณฑ์คะแนนสอบจากส่วนกลาง มีเงื่อนไขในการรับดังนี้

(1) แผนการศึกษาที่เปิดรับ

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

(2) รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ในการยื่นสมัคร

(2.1) ผลการสอบ GAT/PAT พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา GAT : ความถนัดทั่วไป คิด 30 %

– วิชา PAT1 : ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คิด 30 %

– วิชา PAT3 : ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คิด 40 %

หรือ

(2.2) ผลการสอบ 9 วิชาสามัญ พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชาคณิตศาสตร์ 1 คิด 30 %

– วิชาฟิสิกส์ คิด 30 %

– วิชาภาษาอังกฤษ คิด 40 %

หรือ

(2.3) ผลการสอบ O-NET พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา 03 : ภาษาอังกฤษ คิด 40 %

– วิชา 04 : คณิตศาสตร์ คิด 30 %

– วิชา 05 : วิทยาศาสตร์ คิด 30 %

(2) การสัมภาษณ์

– ไม่มี

เงื่อนไขการรับสมัครของแต่ละหลักสูตรมีรายละเอียดดังนี้

1.1 หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ จำนวนรับ 30 คน

1.1.1 แผนการศึกษาของผู้มีสิทธิสมัคร

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

1.1.2 แผนการศึกษาของผู้มีสิทธิสมัคร

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

1.1.3 รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้สำหรับใช้ในการยื่นสมัคร

(1) ผลการสอบ O-NET พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา 03: ภาษาอังกฤษ คิด 20 %

– วิชา 04: คณิตศาสตร์ คิด 40 %

– วิชา 05: วิทยาศาสตร์ คิด 40 %

หรือ

(2) ผลการสอบ GAT/PAT พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา GAT: ความถนัดทั่วไป คิด 30 %

– วิชา PAT1: ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คิด 30 %

– วิชา PAT3: ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คิด 40 %

หรือ

(3) ผลการสอบ 9 วิชาสามัญ พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชาคณิตศาสตร์ 1 คิด 30 %

– วิชาฟิสิกส์ คิด 30 %

– วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คิด 40 %

(4) การสัมภาษณ์

– ไม่มี

เงื่อนไขการรับสมัครและรายละเอียดแฟ้มสะสมผลงานเพื่อใช้ในการยื่นสมัครของแต่ละหลักสูตร มีรายละเอียดดังนี้

1.1 หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ จำนวนรับ 20 คน

1.1.1 สมัครรูปแบบที่ 1 โดยใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงาน

(Portfolio) มีเงื่อนไขการรับสมัครดังนี้

(1) คะแนนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาตั้งแต่ 5 ภาคเรียนขึ้นไป 2.50

(2) แผนการศึกษาที่เปิดรับ

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

(3) จำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละกลุ่มวิชาที่ต้องใช้ในการยื่นสมัคร

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– ไม่กำหนดจำนวนหน่วยกิตและเกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/ภาษาต่างประเทศ

(4) รายละเอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร

– ประวัติ/ข้อมูลส่วนตัว

– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม/ร่วมแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

– หลักฐานแสดงการเข้าร่วมหรือเป็นคณะทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

และจิตสาธารณะ

– หลักฐานการได้รับรางวัล/เกียรติบัตร ในระดับจังหวัด ภูมิภาค หรือมีผลงานเป็น

ที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง

– หลักฐานการแสดงถึงภาวะการเป็นผู้นำ

– หลักฐานผลงานศิลปะ ผลงานการออกแบบ หรือผลงานสิ่งประดิษฐ์ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

– เขียนเรียงความไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ในหัวข้อ

วิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร

3.1.2 สมัครรูปแบบที่ 2 โดยใช้เกณฑ์คะแนนสอบจากส่วนกลาง มีเงื่อนไขในการรับดังนี้

(1) แผนการศึกษาที่เปิดรับ

สำหรับนักเรียนสายสามัญ

– แผนการเรียนวิทย์ – คณิต

(2) รายละเอียดผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ในการยื่นสมัคร

(2.1) ผลการสอบ O-NET พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา 03: ภาษาอังกฤษ เท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนน จาก 100 คะแนน

– วิชา 04: คณิตศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน จาก 100 คะแนน

– วิชา 05: วิทยาศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน จาก 100 คะแนน

หรือ

(2.2) ผลการสอบ GAT/PAT พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชา GAT: ความถนัดทั่วไป เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน จาก 100

คะแนน

– วิชา PAT1: ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนน จาก

100 คะแนน

– วิชา PAT3: ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน

จาก 100 คะแนน

หรือ

(2.3) ผลการสอบ 9 วิชาสามัญ พิจารณาคะแนนดังนี้

– วิชาคณิตศาสตร์ 1 เท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนน จาก 100 คะแนน

– วิชาฟิสิกส์ เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน จาก 100 คะแนน

– วิชาภาษาอังกฤษ เท่ากับหรือมากกว่า 30 คะแนน จาก 100 คะแนน

(2) การสัมภาษณ์

– ไม่มี

Facebook Comments Box