ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบในการยกระดับคุณภาพงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาบนพื้นฐานของทฤษฎีและปฏิบัติ โดยผ่านการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วัตถุประสงค์
1. มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทั้ง ความรู้ความสามารถ จริยธรรม คุณธรรม และมีความรับผิดชอบในการประกอบวิชาชีพ
2. เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความพร้อมทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติที่จะออกปฏิบัติงานใภาคอุตสาหกรรมและราชการ
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกตฺใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมโยธาได้อย่างเหมาะสม
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
1. ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ความสามาถในการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมและออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย
4. ความสามารถด้านภาษา และการสื่อสาร รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
5. ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
แนวทางประกอบอาชีพ
งานเอกชน บริษัทที่ปรึกษา วางแผน ออกแบบ รับเหมาก่อสร้าง ควบคุมงานก่อสร้าง พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
งานราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน การประปาจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
งานวิชาการ เช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาวิศวกรรมโยธาหรือสาขาใกล้เคียงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งหลักสูตรวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม 198 หน่วยกิต | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 40 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร | 16 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | ||
(3)กลุ่มวิชาการจัดการ
|
4 หน่วยกิต | ||
(4) กลุ่มวิชาสุขพลานามัย | 4 หน่วยกิต | ||
(5) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 4 หน่วยกิต | ||
(6) กลุ่มวิชาสารสนเทศ | 4 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 158 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน | 62 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 79 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 9 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 8 หน่วยกิต |