ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญา
มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้าที่มีความสามารถ และความมุ่งมั่นสูงในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในระยะยาว เพื่อตอบสนองพลวัตรความเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้แบบก้าวกระโดดของโลกในอนาคต อีกทั้งมีสำนึกความรับผิดชอบต่อความสงบ และสันติสุขของสังคมโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ สร้างสรรค์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรที่มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาเพื่อที่จะสามารถนำพลังการพัฒนาการที่เข้มแข็งจากการศึกษา มาใช้ในการสร้างตนเอง และช่วยเกื้อกูลครอบครัว สังคม องค์กร และสิ่งแวดล้อมให้มีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป
2. มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เป็นวิศวกรที่มีความรู้กว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้และใฝ่ดี สามารถคิดอย่างมีเหตุผล มีวินัย เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา
3. มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เป็นวิศวกรที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี
4. มุ่งหวังพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นวิศวกรที่มีความเข้าใจทักษะในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการใช้วิจารณญาณ ในเนื้อหาสาระของศาสตร์ทางด้านไฟฟ้ากำลังและโทรคมนาคม
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
1. มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบทางวิชาชีพวิศวกรรรม
2. มีความรู้และความเข้าใจทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
3. มีความสามาถในการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมและออกแบบได้อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
4. มีความสามารถในการปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
แนวทางประกอบอาชีพ
1) วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารในหน่วยงานข้าราขการหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น กองทัพบก กรมตำรวจ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
2) วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น TOT AIS DTAC TRUE HUAWEI TT&Tเป็นต้น
3) วิศวกรไฟฟ้ากำลังในหน่วยงานข้าราขการหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นต้น
4) วิศวกรไฟฟ้ากำลังในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น EGCO-Group CP-Oil โรงงานที่ต้องการระบบอัตโนมัติ ผู้รับเหมางานระบบไฟฟ้า ผจก.พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
5) อาจารย์และนักวิชาการในสถาบันการศึกษา
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ หรือสาขาใกล้เคียงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม 192 หน่วยกิต | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 40 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาภาษา | 20 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาบูรณาการ | 4 หน่วยกิต | ||
(5) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | ||
(5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ | 4* หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 144 หน่วยกิต | ||
(1) กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน | 45 หน่วยกิต | ||
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 82 หน่วยกิต | ||
(3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 17 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 8 หน่วยกิต |