ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาปิโตรเคมีและพอลิเมอร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Petrochemical and Polymer
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปิโตรเคมีและพอลิเมอร์)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Petrochemical and Polymer)
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามปรัชญาของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งประกอบด้วยจริยธรรม คุณธรรม และความความรับผิดชอบในการส่งเสริมและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาบนพื้นฐานของทฤษฎี และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์
- เพื่อผลิตวิศวกรที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต
- มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์และมีความเสียสละต่อสังคม
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
บัณฑิตมีความรู้เกี่ยวกับปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ ได้แก่ กระบวนการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และต่อเนื่องมาอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ ทั้งด้านโครงสร้าง สมบัติ การขึ้นรูป การทดสอบ และอื่น ๆ สามารถประยุกต์ใช้งานได้ สามารถคิดต่อยอดเพื่อเพิ่มการใช้งาน/มูลค่าเพิ่ม โดยสามารถใช้เครื่องมือวิจัยที่สาขาวิชา ใช้ร่วมกันทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท-เอก
แนวทางประกอบอาชีพ
1) วิศวกรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลาสติก ยาง ไม้และ กาว
2) นักวิจัยในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา
3) ครูอาจารย์
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมปิโตรเคมี วิศวกรรมพอลิเมอร์ วิศวกรรมวัสดุ หรือสาขาใกล้เคียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม 186 หน่วยกิต | |||||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 40 หน่วยกิต | ||||
(1) กลุ่มวิชาภาษา | 20 หน่วยกิต | ||||
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | ||||
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 8 หน่วยกิต | ||||
(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ | 4 หน่วยกิต | ||||
(5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ | 4* หน่วยกิต | ||||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 138 หน่วยกิต | ||||
(1) กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน
|
47 หน่วยกิต | ||||
(2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
|
74 หน่วยกิต | ||||
(3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา
|
17 หน่วยกิต | ||||
|
|||||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 8 หน่วยกิต | ||||