logo
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2 การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ปาล์มน้ำมันต้นแบบระดับอุตสาหกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการดำเนินการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมประเด็นเป้าหมายด้านพัฒนา สังคม และสิ่วแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์เศษเหลือทางการเกษตร ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13″ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรยายเรื่อง “ศักยภาพเศษชีวมวลปาล์มน้ำมันทางอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและสังคม” พร้อมด้วยบุคลากร นักศึกษา แขกผู้มีเกียรติและผู้ประกอบการธุรกิจภาคอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าการแปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ปาล์มน้ำมันมาอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นผลดีกับภาคใต้ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถนำไม้ปาล์มน้ำมันไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อต้นแก่ต้องตัดทิ้งหรือปล่อยทิ้งให้ยืนต้นตาย การค้นพบความสำเร็จในการอบไม้ปาล์มน้ำมันของนักวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการจนวันนี้สามารถแปรรูปเป็นไม้แผ่นหรือจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง กระทั่งถึงเวลาที่จะได้ต่อยอดไปสู่ระดับอุตสาหกรรม ทั้งโรงงานไม้แปรรูปเพื่อผลิตใช้ภายในประเทศและส่งออกต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อป่าไม้ตามธรรมชาติลดลง ถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์จากต้นปาล์มน้ำมันได้ จะเป็นประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างมหาศาล

ทั้งนี้ ภายในงานผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้รับฟังการบรรยายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ การค้นพบใหม่ : กระบวนการ/กลไกการอบไม้ปาล์มน้ำมันโดยไม่ยุบตัวอย่างรวดเร็วโดยวิธีการแช่เยือกแข็ง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโลยี การใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์การยุบตัวของเซลล์ในไม้ปาล์มน้ำมันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการแปรรูป โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกร รักใหม่ จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน การบรรยายเรื่อง เครื่องต้นแบบการผลิตไม้ปาล์มน้ำมันแปรรูปโดยวิธีการแช่เยือกแข็งในระดับอุตสาหกรรม โดย ดร.ชูศักดิ์ ฤทธิเพชร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไม้ปาล์มน้ำมันที่มีน้ำมันหอมระเหยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักหลังการเก็บเกี่ยว โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล มาแทน การผลิตไม้น้ำหนักเบาสำหรับใช้งานภายนอกด้วยการฝังอัดพอลิเมอร์ในไม้ปาล์มน้ำมัน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุฤกษ์ คงทอง หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโลยี การผลิตผลิตภัณฑ์แผ่นแซนวิชโดยใช้ไม้ปาล์มน้ำมันเป็นไส้สำหรับงานโครงสร้างฉนวนความร้อนและเสียง โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุธน ศรีวะโร หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโลยี และรับชมการสาธิตการทำงานของเครื่องแช่เยือกแข็งต้นแบบในระดับอุตสาหกรรมอีกด้วย

 

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ม.วลัยลักษณ์ จัดสัมมนาวิชาการ “กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน” ครั้งที่ 2
Facebook Comments Box