logo
ผศ.ดร.ประชิด สระโมฬี ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป กลุ่มบ้านเรือปู แพปูอภิวรรณ

ผศ.ดร.ประชิด สระโมฬี ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป กลุ่มบ้านเรือปู แพปูอภิวรรณ

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชิด สระโมฬี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการการออกแบบและพัฒนาแบบพิมพ์สำหรับผลิตจ๊อปูรูปลักษณ์ใหม่ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป กลุ่มบ้านเรือปู แพปูอภิวรรณ หมู่ 1 ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ทราบถึงความต้องการในการพัฒนาแบบพิมพ์จ๊อปูรูปลักษณ์ใหม่ เพื่อปรับปรุงและยกระดับความสามารถในการผลิต ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ โดยสามารถลดต้นทุน ประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการทำงาน ลดแรงงานการผลิต

    กระบวนการพัฒนาต้นแบบพิมพ์จ๊อปูรูปลักษณ์ใหม่ โดยพัฒนาจากกระบวนการดั้งเดิมที่มีการใช้เชือกผูกมัดเส้นของจ๊อปูให้เป็นลูกๆ ซึ่งวิธีการนี้จะต้องใช้เวลานานในมัดให้ครบแต่เส้น แล้วนำจ๊อปูแต่ละเส้นที่ถูกมัดเป็นลูกๆนำเข้าไปนึ่งในซึ้งให้สุก เมื่อนำจ๊อปูแต่เส้นออกจากซึ้งแล้วต้องมีกระบวนการแกะเชือกออกอีกครั้งนึง ซึ่งใช้เวลาในการผูกและแกะเชือกประมาณ 1.30 นาที/เส้น ต่อมาได้มีการใช้แบบพิมพ์อลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมครึ่งซีก เมื่อทำการม้วนเส้นจ๊อปูแล้วนำมาวางและกดลงในช่องวงกลมครึ่งซีกนี้ ทำให้เกิดการแบ่งเส้นของปูจ๊อออกเป็นลูกๆ โดยใช้เวลาประมาณ 25.50 วินาที/เส้น ในโครงการนี้ได้ทำการออกแบบและพัฒนาแบบจ๊อปูที่สามารถลดเวลาการผลิตและทำให้ได้คุณสมบัติทั้งขนาด ความสมมาตร และความแน่นของปูจ๊อ โดยการใช้โปรแกรม AutoCAD ที่นักศึกษาได้เรียนในรายวิชา PEP63-201 การเขียนแบบทางวิศวกรรม (Engineering Drawing II) ออกแบบแม่พิมพ์ให้มีลักษณะครึ่งวงกลมที่สมมาตรทั้ง 2 ด้าน เมื่อวางเส้นของปูจ๊อแล้วกดลงมาจะทำให้แบ่งจ๊อปูออกเป็นลูกๆได้ขนาดเท่ากันพอดี จ๊อปูที่อยู่ในพิมพ์มีลักษณะที่สวยงามยิ่งขึ้น กล่าวคือจ๊อปูที่ได้มีขนาดสมมาตรเท่ากันทุกด้าน เนื้อสัมผัสแน่นขึ้น ใช้เวลาในกระบวนการการผลิตประมาณ 17 วินาที/เส้น ทำให้ประหยัดเวลาในการผลิตและลดการใช้แรงงานในการผลิตได้

   จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเล และมีผลผลิตทางการประมงเป็นสินค้าหลักที่สร้างรายได้ใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ชายฝั่ง การรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริมที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นเริ่มมีมากขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้เนื่องจากการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาต่างๆ ในอดีตที่เข้ามาทำกิจกรรมขยายผลทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ทั้งที่วางจำหน่ายได้แล้วและอยู่ในระหว่างของการพัฒนาเพื่อสร้างจุดขาย อย่างไรก็ตามยังต้องมีการยกระดับรูปแบบของสินค้าต่าง ๆ จากการสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างชาวประมงในพื้นที่พบว่า ชุมชนประมงชายฝั่งมีความต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการยกระดับการแปรรูป การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์อัตลักษณ์ชุมชน การออกแบบและพัฒนาแบบพิมพ์สำหรับขึ้นรูปปูจ๊อรูปลักษณ์ใหม่นี้ จึงมีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ได้มาตรฐาน เพิ่มความสามารถในการผลิต รวมทั้งการพัฒนาสินค้าประมง อัตลักษณ์ในพื้นที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย สะอาด ได้รับการรับรองมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภครวมทั้งเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าของชุมชนประมงชายฝั่งมากยิ่งขึ้น

 

ผศ.ดร.ประชิด สระโมฬี ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป กลุ่มบ้านเรือปู แพปูอภิวรรณ
ผศ.ดร.ประชิด สระโมฬี ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป กลุ่มบ้านเรือปู แพปูอภิวรรณ
Facebook Comments Box