logo
สุดปัง นักศึกษาวิศวะ ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล “Thailand Research Expo 2023”

สุดปัง นักศึกษาวิศวะ ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล “Thailand Research Expo 2023”

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราและบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศผลทีมสายอุดมศึกษาผู้พิชิตรางวัลในกิจกรรม “การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566”ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ในปีนี้มีผลงานจากนักประดิษฐ์ระดับชั้นอุดมศึกษา จัดแสดงจำนวน 154 ผลงาน ได้รับความสนใจจากผู้มาเยี่ยมชมงานจำนวนมาก ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร จาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบรางวัล ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราและบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

นักศึกษาของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลจำนวน 4 ผลงาน ดังนี้

1. โครงงานคาร์บอนรูพรุนประสิทธิภาพสูงจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราสำหรับขั้วอิเล็กโทรดตัวเก็บประจุยิ่งยวด ประกอบด้วย นางสาวพิชญาภา บุญสุข นายนิธิศ ธำรงค์เทพพิทักษ์ และนางสาวศิริขวัญ ดำคุ้ม สาขาวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ นางสาวนงนภัส ดาวสุวรรณ นายนราธิป ไชยรัตน์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คว้ารางวัลถ้วยรางวัลระดับดี และรางวัลเหรียญทอง ในกลุ่มที่ 4 ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model โดยมี ผศ.ดร.อุเทน ทับทรวง และ ผศ.ดร.กมล ถิ่นสุราษฎร์ เป็นอาจารย์อาจารย์ที่ปรึกษา

นศ ปิโตรเคมีและพอลืเมอร์ และไฟฟ้า

2. โครงงานนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย นางสาวน้องหญิง ขาวเอี่ยม นายคงเดช บัวน้อย นายเกริกชัย สอาดฤทธิ์ สาขาวิศวกรรมโยธา คว้ารางวัลเหรียญทองแดง ในกลุ่มที่ 3 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ โดยมี รศ.ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นศ โยธา

3. โครงงานการพัฒนาเสาอัจฉริยะและระบบตรวจจับจำนวนนักศึกษาที่ยืนรอรถไฟฟ้าโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย นายวีรศักดิ์ บุตรโกบ นางสาวศศิตา อัสดรกาล และนางสาวพันพัสสา พืชนุกูล สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ คว้ารางวัลเหรียญทองแดง ในกลุ่มที่ 3 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ โดยมี อาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

4. โครงการพัฒนาระบบตรวจจับและพยากรณ์พฤติกรรมสุกร ประกอบด้วย นายศราวุฒิ ช่วยตรึก นายวรนนท์ พยุงกุลอนันต์ และ นางสาวกวิญทิพย์ ยาปัน สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ คว้ารางวัลเหรียญทองแดง ในกลุ่มที่ 1 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร โดยมี อาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์

     ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศผลทีมสายอุดมศึกษาผู้พิชิตรางวัลในกิจกรรม “การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566”ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ในปีนี้มีผลงานจากนักประดิษฐ์ระดับชั้นอุดมศึกษา จัดแสดงจำนวน 154 ผลงาน ได้รับความสนใจจากผู้มาเยี่ยมชมงานจำนวนมาก  และได้กล่าวชื่นชมคณะอาจารย์ นิสิต นักศึกษา รวมไปถึงผู้บริหารหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ หรือองค์ความรู้การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานความรู้ในการนำไปพัฒนาประเทศ โดยกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่ง ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” หรือ “Thailand Research Expo 2023” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนไทย ได้นำเสนอผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการพัฒนาผลงานให้ก้าวไปสู่เส้นทางการเป็นนักวิจัยนักประดิษฐ์ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป ซึ่งการจัดกิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาตลอดการจัดงานที่ผ่านมา มีผู้ให้ความสนใจผลงานของนิสิต นักศึกษา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ พร้อมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัยในอนาคตที่ดีด้วย
     การมอบรางวัลผลงานจากการประกวด มี 2 ประเภท ได้แก่ 1. รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566 และ 2. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ 4) ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิต นักศึกษาเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และกลายเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป
     วช. หวังว่าการมอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566 จะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน อีกด้วย

(Thailand Research Expo 2023
Facebook Comments Box