logo

งานวิจัยสาขาปิโตรเคมีและพอลิเมอร์

งานวิจัย โครงการ การพัฒนาปืนยางสำหรับใช้ช่วยฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจ

 

ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการฝึก (Technology and Innovation of Training Center) ฝ่ายปกครองและการฝึก ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 8 มีความจำเป็นในการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อาวุธปืนอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และชำนาญ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกได้แก่ ปืนพกสำหรับฝึก ให้แก่นักเรียนตำรวจ เพื่อเพิ่มทักษะ ความชำนาญและความคุ้นเคย ในการใช้ปืนพกสำหรับฝึกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปืนจริงมากที่สุด

ปัจจุบันการฝึกการใช้ปืนพกของนักเรียนตำรวจในแต่ละปีนั้นมีจำนวนนักเรียนตำรวจมาก จึงเกิดปัญหาด้านจำนวนปืนพกสำหรับฝึกไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 จึงพยายามจัดหาอุปกรณ์การฝึกมาใช้ทดแทนสำหรับการฝึกยิงปืนพก เช่น ปืนที่ทำจากไม้ เรซิน เป็นต้น รวมทั้งการนำเข้าปืนพกจำลองจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง และไม่สามารถที่จะทำให้การฝึกนั้นช่วยให้นักเรียนตำรวจมีความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนกับปืนจริงได้

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการนำงานวิจัยทางวิชาการและประสบการณ์การเรียนการสอนของคณาจารย์และนักศึกษา มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยางพารา ได้แก่การผลิตปืนยางช่วยฝึกสำหรับทหาร ตำรวจ ซึ่งมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้งาน สามารถตอบโจทย์ที่ศูนย์ฝึกต้องการ และมีคำสั่งซื้อจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 8 กองพันทหารสารวัตร ที่ 41 สถานีตำรวจนครบาลบางบอน ทหารเรือ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นต้น จากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารานี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราดิบและสร้างรายได้ให้กับหน่วยงาน รวมทั้งลดการนำเข้าการซื้อปืนยางและมีดยางจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่าปืนยางพารา 5-6 เท่า

 


 

การวิจัย Current research

ผศ.ดร.อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย

กล่องอนามัย ปลอดภัย เอนกประสงค์ Health, Safety and Multipurpose Box อยู่ในขั้นพิจารณาให้ทุน จาก สกว. โดยกำหนดเริ่ม ตุลาคม 2561 ระยะเวลาในการ ระยะเวลาในการทำ 1 ปีตุลาคม 2561- กันยายน 2562 Finish research  การผลิตน้ำยางข้นชนิดปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในระดับอุตสาหกรรมและการประเมินคุณภาพProduction of industrial scaleallergic free-concentrated latex and quality assessment ทุนจาก สกว. สัญญาเลขที่ RDG 6050127 ระยะเวลา 15 กันยายน2560 ถึง 14 กันยายน 2562 จำนวนเงินทุน 3,036,560 บาท สถานะ เป็นนักวิจัยร่วม และเป็นที่ปรึกษาโครงการ


เรื่อง ยางพาราไร้สี ไร้กลิ่น

              ผลิตภัณฑ์ยางนี้ได้รับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 10613 ออกให้ ณ. วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ชื่อ ยางธรรมชาติไร้กลิ่น ไร้สี และกระบวนการผลิต ซึ่งเหมาะที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงเรื่องกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของยาง เช่น อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ที่กังวลเรื่องโปรตีนภูมิแพ้ และ อุปกรณ์ยางที่ใช้ในรถยนต์หรูราคาสูงเป็นต้น  หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสีสันสวยงาน  เช่น อุปกรณ์กีฬา รองเท้า  เฟอร์นิเจอร์ สื่อการเรียนการสอน และกาวชนิดพิเศษ ฯลฯ

นอกจากนั้นยางชนิดนี้เป็นยางที่มีความหนืดต่ำและคงที่ ทำให้ลดพลังงานในการผสม ส่งผลให้เหมาะนำไปใช้ทำยางล้อประหยัดพลังงาน นอกจากผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงเรื่องกลิ่นและสีของยางธรรมชาติ

                                       

ยางพาราไร้สี ไร้กลิ่นของยาง

              น้ำยางนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้โดยมีสมบัตินอกจากไม่มีกลิ่นและสีจากยางแล้ว ยังไม่พบโปรตีนภูมิแพ้ชนิด REF  ดังนั้นทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้ทำถุงมือศัลยกรรม และเนื่องจากสมบัติความไม่มีกลิ่นยาง ของน้ำยางนี้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นในด้าน นวัตกรรมสีเขียวของสีทาอาคาร โดยเฉพาะสีทาภายในอาคาร โดยผลิตภัณฑ์นี้ได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตร 1 เรื่อง ซึ่ง  อยู่ในขั้นตรวจสอบ โดยมีเลขคำขอที่ 1703000387 ชื่อ สูตรและกระบวนการผลิตน้ำยางธรรมชาติชนิดไร้กลิ่นและสีของยาง

                       

 

 

 

 

 

 

 


 

งานวิจัย

ผศ.ดร.สุธน ศรีวะโร

1. การใช้ประโยชน์ไม้จากพืชเศรษฐกิจ (ต้นยางพารา และต้นปาล์มน้ำมัน) และพืชโตเร็ว (ต้นไผ่)

2. กระบวนการผลิตไม้ประกอบสำหรับใช้ในโครงสร้างอาคาร

3. การผลิตและออกแบบแผ่นผนังฉนวนสำหรับอาคาร


 

โครงการวิจัย (Research project)

ผศ.ดร.พรรณนิภา เชาวนะ

การศึกษาการลดลงของปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์จากแผ่นชิ้นไม้อัดจากไม้ยางพาราโดยการใช้สารดักจับฟอมัลดีไฮด์ (Study on the reduction of formaldehyde emission from rubberwood particleboard by formaldehyde scavenger) แหล่งทุน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   Source: Walailak University

ความผันแปรของสมบัติของลำไผ่สามชนิดซึ่งปลูกในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง (Culm properties variation of three bamboo species planted in Royal Project Foundation)     แหล่งทุน มูลนิธิโครงการหลวง        Source: Royal Project Foundation

ผลกระทบของปัจจัยการผลิตต่อการระเหยของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากแผ่นผนังประหยัดพลังงานที่มียางธรรมชาติเป็นแกนกลางสำหรับใช้งานภายในตัวอาคาร (Emission from Structural Insulated Panel from Rubberwood Strands and Natural Rubber Foam filled with Sawdust)  แหล่งทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย Source: Thailand Research Fund

สมบัติกายภาพและเชิงกลของลำไผ่ (Physical and mechanical properties of bamboo culm)แหล่งทุน ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไผ่  Source: Centre of Excellence for Bamboos

แผ่นผนังประหยัดพลังงานจากยางธรรมชาติ (Energy Efficient Panel made from Natural Rubber)  แหล่งทุน กระทรวงพลังงาน  Source: Ministry of Energy

facebook : วิศวกรรมพอลิเมอร์ มวล.

 

Facebook Comments Box