logo

ร่วมประหยัดหมึกเครื่องพิมพ์โดยใช้ตัวอักษรแบบ รักษ์โลก ประหยัดต้นทุน

ปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่ล้วนให้ความสำคัญกับการลดการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการใช้ทรัพยากรจำนวนมากทุกวัน การลดการใช้ทรัพยากรช่วยลดต้นทุนให้กับองค์กรและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ซึ่งการลดต้นทุนสามารถทำได้ทุกศาสตร์สาขาและทุกส่วนงาน เช่น การใช้วัตถุดิบทดแทน การลดกำลังคนโดยใช้เครื่องจักรกล การลดของเสีย หรือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง เรียกว่า Green Technology Information หรือ GIT

 

การวิเคราะห์วงจรชีวิตชองกระบวนการผลิตกระดาษ
ที่มา: What is a life cycle approach? [online]. evolve-papers.com Accessed 1 February 2021.

 

การประหยัดทรัพยากรภายในองค์กรรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือ การลดต้นทุนการใช้งานเอกสารภายในองค์กร เรียกแนวทางนี้ว่า Green Printing ซึ่งอยู่ภายใต้แนวคิดของ GIT ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้งานเอกสารออนไลน์ การใช้กระดาษรีไซเคิล และการเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่ลดปริมาณการใช้หมึกพิมพ์ ซึ่งผู้ใช้งานภาษาอังกฤษสามารถมีแบบตัวอักษรให้เลือกดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตทั้งแบบฟรีและเสียเงิน โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ได้รับการศึกษาและวิจัยแล้วว่าใช้น้ำหมึกในการพิมพ์น้อย เช่น Century Gothic, Time New Roman, Calibri และ Verdana เป็นต้น โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ประหยัดน้ำหมึกมากที่สุดคือ Century Gothic ที่มีลักษณะเส้นบาง และไม่มีขีดตรงส่วนหัวหรือหางของตัวอักษร ผลการวิเคราะห์ปริมาณหมึกและต้นทุนในองค์กรโดย Printing.com ระบุว่า องค์กรสามารถลดปริมาณหมึกพิมพ์ถึงร้อยละ 31 หากเลือกแบบตัวอักษรที่ประหยัดในงานเอกสาร โดยทำการทดสอบพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์ Canon inkjet and a Brother laser printer (both set at 600×600 dots per inch) สำหรับชนิดของตัวอักษร มีผลแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ปริมาณหมึกที่ใช้ และต้นทุนในองค์กร

table
ที่มา : Printing Costs: Does Font Choice Make a Difference? [online]. blog.printer.com. April 2009.  Accessed 1 February 2021.

แนวทางการประหยัดหมึกพิมพ์ นอกจากจะเลือกใช้ชนิดอักษรที่ประหยัดหมึกแล้ว ยังวิธีที่จดลดปริมาณหมึกพิมพ์โดย ลดพื้นที่ Black pixel ลงโดยเอาพื้นที่วางในตัวอักษรออก ซึ่งเป็นอีกวิธีการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น Ryman Eco  และแบบที่มาเติมช่องว่างในตัวอักษรในภายหลัง เช่น Eco Vera San

font

ในการประยุกต์หลักการ Green Printing ภายใต้แนวคิด GIT สำหรับตัวอักษรภาษาไทย ผศ.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ และ ดร. ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช อาจารย์จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ออกแบบชุดอักษรไทยประหยัดหมึก (TH Imjai-Ecofont) ที่พัฒนาให้ตัวอักษรภาษาไทยประหยัดหมึกพิมพ์ และทำการวิเคราะห์การลดปริมาณ Black pixel ในตัวอักษรลงให้มากที่สุด แต่ยังความคมชัดที่ขนาดตัวอักษรในงานเอกสารทั่วไป เช่น ขนาด 16 pt โดยชุดตัวอักษรที่พัฒนามีให้เลือกใช้งาน 13 แบบ ตามรูปแบบตัวอักษรภาษาไทยที่มีการใช้งานกันอย่างเป็นทางการ

แนวคิดในการลด Black pixel ในตัวอักษร จาก รูปทรงต่างๆ

ชุดอักษรไทยประหยัดหมึก (TH Imjai-Ecofont) ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในปัจจุบันหน่วยงานราชการในประเทศไทยได้มีการกำหนดชนิดและประเภทของฟอนต์ ที่ใช้ในหน่วยงานของภาครัฐ ตัวอักษรหรือ ฟอนต์ TH Sarabun PSK เป็นตัวอักษรที่ใช้ในหน่วยงานราชการอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปมีขนาด 16 pt สำหรับข้อความปกติ และขนาด 18 pt สำหรับหัวข้อ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีงบประมาณ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหมึกพิมพ์ Ink cartridge สำหรับเครื่องพิมพ์แบบ Laser หรือ Ink Jet ถือว่าเป็นวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นการประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองเหล่านี้นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะลดค่าใช้จ่าย เช่นการใช้กระดาษพิมพ์ซ้ำ (Reused) หรือการใช้โหมดการพิมพ์แบบประหยัดหมึก อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ในกรณีต้องใช้เอกสารหรือสิ่งพิมพ์เป็นฉบับจริง ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบฟอนต์ประหยัดหมึกพิมพ์ พัฒนามาจากลดลงของพื้นที่ภายในเพื่อที่จะประหยัดหมึกในการสร้างตัวอักษร

ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างอักษรภาษาไทยประหยุดหมึกพิมพ์ TH Sarabun PSK Ecofont version 1.0 ได้ ที่ :