logo

ชื่อหลักสูตร 

สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ภาษาอังกฤษ:  Software Engineering
 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Software Engineering)

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความสามารถในการนำหลักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ไปใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และตรงกับความต้องการ ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนด

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความสามารถในการนำหลักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ไปใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และตรงกับความต้องการ ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนด
 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)

PLO1 อธิบายมาตรฐานสากลในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น IEEE (Understand level2)
PLO2 ประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความต้องการในการทำข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ (Apply level3)
PLO3 ประยุกต์ใช้กระบวนการซอฟต์แวร์และการจัดการโครงการกับโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ (Apply level3)
PLO4 ใช้ทักษะการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารระหว่างทีมกับผู้ใช้งาน (Apply level3)
PLO5 ใช้หลักจริยธรรมในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ (Apply level3)
PLO6 ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ได้ (Apply level3)
PLO7 ใช้ทักษะและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในการทำงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้ (Apply level3)
PLO8 วิเคราะห์และออกแบบตัวแบบซอฟต์แวร์จากข้อกำหนดความต้องการด้วยเทคนิคเชิงวิเคราะห์ (Analyze level4)
PLO9 พัฒนาซอฟต์แวร์จากตัวแบบซอฟต์แวร์ที่เป็นไปตามความต้องการและสภาพแวดล้อมการใช้งานจริงได้ (Create level6)
PLO10 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อให้ได้ระบบสมองกลฝังตัว (Apply level3)
PLO11 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้แก้โจทย์ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Apply level3)
PLO12 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเครื่องมือในการทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติได้ (Apply level3)

แนวทางประกอบอาชีพ

1) วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
2) นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
3) นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
4) นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
5) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer)
6) สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect)
7) DevOps Engineer (software DEVelopment and information technology OPerationS Engineer)
8) ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ (Software Entrepreneurship)
9) นักวิชาการ อาจารย์ และนักวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Scholar, Lecturer, and Researcher in Software Engineering)

ตัวอย่างวิชาที่เปิดสอน

กลุ่มวิชาโท วิทยาศาสตร์ข้อมูล
SWE62-325 สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
SWE62-381 การประมวลภาพลักษณ์
SWE62-384 การจัดเก็บและค้นคืนเนื้อหาดิจิทัล
SWE62-385 การสร้างภาพข้อมูล
SWE62-386 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
SWE62-387 ระบบธุรกิจอัจฉริยะ
SWE62-388 การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ชุดวิชาโทวิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว
COE62-221 การออกแบบวงจรตรรกะและเชิงเลข
COE62-214 ไมโครโพรเซสเซอร์และระบบสมองกลฝังตัว
COE62-311 การเชื่อมต่อและการรวมระบบ
COE62-381 ระบบสมองกลฝังตัวขั้นสูง
COE62-382 การออกแบบระบบโดยใช้แบบจำลอง
 

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการข้อมูล หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 177,600.- บาท

โครงสร้างหลักสูตร 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 174 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป40 หน่วยกิต
 (1) กลุ่มภาษา20 หน่วยกิต
 (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  8 หน่วยกิต
 (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์8 หน่วยกิต
 (4) กลุ่มวิชาบูรณาการ4 หน่วยกิต
 (5) กลุ่มสารสนเทศ4* หน่วยกิต
 หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร 
2. หมวดวิชาเฉพาะ126 หน่วยกิต
 (1) กลุ่มวิชาแกน15 หน่วยกิต
 (2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน  94 หน่วยกิต
 (3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา17 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี8 หน่วยกิต
Facebook Comments Box